กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน

กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน

 

กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน

กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน พระราชบัญญัติ การขุดดิน และถมดิน พ.ศ.2543 บังคับใช้ ในท้องที่ เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นอื่น บริเวณที่มีพระราชกฤษฎีกา ให้บังคับใช้กฎหมายว่าด้วย การควบคุมอาคาร และเขตผังเมือง รวมตามกฎหมายว่าด้วย การผังเมือง ซึ่งในปัจจุบัน เขตผังเมือง รวมมีการประกาศ ใช้ทุกจังหวัด ทำให้พระราชบัญญัติ การขุดดิน และถมดินใช้บังคับ ในทุกพื้นที่ นอกจากนั้น บางพื้นที่ อาจมีกฎกระทรวง หรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือกฎหมายอื่น ๆ กำหนดบริเวณ ห้ามขุดดิน หรือถมดิน บริเวณดังกล่าวไว้ ซึ่งการจะดำเนินการ ขุดดิน หรือถมดิน ในพื้นที่บริเวณใด ควรต้องศึกษา ข้อกำหนด ที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ นั้นด้วยติดตาม ผลงานการถมที่ดิน ได้ที่เพจ บริษัทรับถมที่ดิน เคลียร์ริ่งพื้นที่ ปรับหน้าดิน ชลบุรี และภาคตะวันออก

การขุดดินและถมดิน

การขุดดินและถมดินที่เข้าข่ายต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543

กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน

การถมดินโดยมีความสูง ของเนินดิน เกินกว่า ระดับที่ดิน ต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง ที่มีพื้นที่เกิน 2,000 ตารางเมตร (ประมาณ 1 ไร่ 1 งาน) หรือมีพื้นที่ เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ประกาศกำหนด นอกจาก จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นแล้ว ต้องจัดให้มี การระบายน้ำ เพียงพอ ที่จะไม่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อน แก่เจ้าของที่ดิน ที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น

ความลึกเกิน 3 เมตร

กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน

การขุดดิน ที่มีความลึก จากระดับ พื้นดิน เกิน 3 เมตร หรือมี พื้นที่ ปากบ่อดิน เกิน 10,000 ตารางเมตร (ประมาณ 6 ไร่ 1 งาน) หรือมี ความลึก หรือ พื้นที่ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ประกาศกำหนด ซึ่งเอกสาร แจ้งจะต้องมีข้อมูล เกี่ยวกับ แผนผังบริเวณที่จะขุดดิน แผนผัง แสดงเขต ที่ดิน และที่ดิน บริเวณข้างเคียง วิธีการขุด และระยะเวลา ในการขุดดิน รายละเอียด เกี่ยวกับ การดำเนินการ และด้านความปลอดภัย ของผู้ดำเนินการ และ บุคคลภายนอก การป้องกัน การพังทลาย ชื่อผู้ควบคุมงาน และสำนักงานของผู้แจ้ง รวมถึงเอกสารอื่นๆ ตามที่เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นกำหนด และเมื่อแจ้งแล้ว หากได้มี การดำเนินการ แจ้งโดยถูกต้อง ครบถ้วน เจ้าพนักงานท้องถิ่น จะออกใบรับแจ้ง ให้ภายใน 7 วัน ซึ่งแม้ว่าผู้แจ้ง จะได้รับใบรับแจ้ง จากเจ้าพนักงาน ท้องถิ่น แล้วก่อนการขุดดิน ก็ไม่เป็นเหตุ ที่จะคุ้มครอง ผู้แจ้ง จากการขุดดิน ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อทรัพย์สิน ของบุคคล หรือต่อ สภาพแวดล้อม ผู้ขุดดิน ไม่ว่าจะเป็น เจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้างหรือตัวแทน ต้องรับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ต่อความเสียหายนั้น แต่อย่างไรก็ตาม การขุดดิน ที่มีความลึก จากระดับพื้นดิน ไม่เกิน 3 เมตร ซึ่งไม่ต้องแจ้ง ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อจะขุดดินใกล้ กับแนวเขตที่ดิน ของผู้อื่น ในระยะน้อยกว่า 2 เท่า ของความลึก ของบ่อดิน ที่จะขุด ต้องจัดการป้องกัน การพังทลายของดิน ตามวิสัย ที่ควรจะทำด้วย 

ต้องมีเครื่องหมาย แสดงขอบเขต ที่ดินที่จะทำ การขุดดิน หรือ ถมดิน

กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน

ในการขุดดิน ผู้ขุดดิน จะต้องจัดให้มี เครื่องหมาย และแสดงขอบเขตที่ดิน ที่จะทำการขุด และติดตั้งป้าย ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 120 เชนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า 240 เซนติเมตร ในบริเวณที่ทำการขุดดิน ที่สามารถเห็นได้ง่ายตลอดเวลา ที่ทำการขุดดินโดย แสดงข้อความตามท้ายข้อบัญญัตินี้

ในบริเวณที่ทำการขุดดินหรือถมดิน

กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน

ต้องมีการติดตั้งป้ายที่แสดงข้อความ ดังต่อไปนี้

1. เนื้อที่โครงการ ที่จะทำการ ขุดดิน หรือ ถมดิน

2. ขนาดพื้นที่ ปากบ่อดิน เนินดิน ความลึก หรือความสูง ของ การขุดดิน หรือ ถมถิ่น

3. วัตถุประสงค์ ของการขุดดินหรือถมดิน

4. เลขที่ใบรับแจ้ง และ วันที่สิ้นสุด การขุดดิน หรือ ถมดิน

ในบริเวณที่ทำการขุดดินหรือถมดิน

กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน

5. ชื่อ ผู้ควบคุมงาน ผู้ออกแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณ รวมทั้งเลขทะเบียน การประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ตามกฎหมายว่าถ้วยวิศวกร

6. ชื่อ และ ที่อยู่ ของผู้แจ้ง การขุดดินหรือถมดิน

7. ชื่อ และ ที่อยู่ ของเจ้าของที่ดิน

8. ชื่อ และ ที่อยู่ ของผู้ดำเนินการ ขุดหรือถมดิน

สนใจ ถมที่ดินกับเรา







Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top